ปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสียจริงหรือ ??
ReadyPlanet.com
dot
bulletโปรโมชั่น
bulletเข้าสู่ระบบ
bulletสมัครสมาชิก
การรับประกันสินค้า
dot
ตระกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot
ค้นหาสินค้า

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า

  [Help]
dot
dot
อีเมล์

dot
หมวดสินค้า
เครื่องยนต์อเนกประสงค์
เครื่องตัดหญ้า
เครื่องพ่นยา
เครื่องปั่นไฟ
ปั๊มน้ำ เครื่องสูบน้ำ
เครื่องตัดแต่งกิ่งไม้
เครื่องเจาะดิน
เครื่องมือฮาร์ดแวร์
แม่แรงยกรถ
เอ็นตัดหญ้า กระปุกเอ็นตัดหญ้า
สินค้าอื่นๆ
line id @vigotech
แจ้งชำระเงิน
โปรโมชั่นประจำเดือน
clinton
กิจกรรมของบริษัท
วีดีโอการใช้งาน
รีวิวสินค้าจากลูกค้า
ข่าวเกี่ยวกับเกษตรกรรม
ขนส่งเคอรี่ kerry
bulletเงื่อนไขการรับประกันสินค้า
คู่มือการใช้งานเครื่องพ่นยาสะพายหลังแบตเตอรี่และมือโยก


เครื่องมือการเกษตรและอุปกรณ์การเกษตร


ปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสียจริงหรือ ?? article

 ปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสียจริงหรือ ??

มีคำพูดที่กล่าวหาโจมตีกันจนติดปากว่า ถ้าใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานๆ ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจะกลับลดลงเรื่อยๆ เพราะปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสีย เช่น ทำให้ดินแข็งไถพรวนยาก พืชกินปุ๋ยได้น้อยลง จึงไม่เติบโตดีเท่าที่ควร ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นที่เคยสูงก็จะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เสมือนกับการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นเป็นยาเสพติด ฯลฯ

1. ปัญหาดินแข็งและแน่นทึบมีสาเหตุจากอะไร
ดินที่ปลูกพืชได้ผลผลิตสูงแต่เดิมนั้นเนดินดีเพราะมีดินชั้นบนเป็นดินโปร่ง ร่วนซุย และอุดมสมบูรณ์ 
เมื่อเกษตรกรไถพรวนดินเพาะปลูกพืชอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมานานโดยไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินเลยนั้น ดินก็จะเสื่อมสภาพกลายเป็นดินเลว พืชผลที่ได้จากการเพาะปลูกจะลดลงอยู่เรื่อยๆ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากการเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกแต่ละครั้งต้องมีการไถพรวนดิน ในสภาพดินโล่งเตียนเมื่อมีฝนตก ก่อนพืชที่ปลูกจะปกคลุมหน้าดินก็จะเกิดการชะล้างพังทลายหน้าดิน หน้าดินจึงสูญหายไปกับน้ำที่ไหลบ่าผ่านหน้าดินอยู่เรื่อยๆ นานเข้าดินชั้นบนที่เป็นหน้าดินดั้งเดิมซึ่งเป็นดินดีจะถูกชะกร่อนหายไปจนหมด ดินชั้นล่างซึ่งปกติจะเป็นชั้นดินที่แน่นทึบจะโผล่ขึ้นมาเป็นดินชั้นบนแทน จึงทำให้เห็นว่าหน้าดินมีสภาพแข็งและแน่นทึบขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว สรุปก็คือดินแข็งเกิดจากการไถพรวนเพื่อปลูกพืช ตามด้วยการชะล้างหน้าดินออกไปโดยน้ำฝน นี่คือสัจธรรมของดินกับการเพาะปลูกพืชที่ไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินและขาดการจัดการดินที่ดี
การสูญเสียหน้าดินไปนั้น นอกจากสูญเสียธาตุอาหารไปแล้ว ดินยังสูญเสียสภาพทางกายภาพ เช่น ความร่วนซุย การระบายถ่ายเทอากาศและน้ำ เป็นต้น และทางเคมีที่ดีไปด้วย
ในขณะที่ดินกำลังเสื่อมสภาพลง ปัญหาเรื่องการขาดธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง จะเกิดขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก เกษตรกรจังมักใส่ปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีเป็นอันดับแรก เพื่อแก้ปัญหา เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุอาหารที่ขาดแคลนให้พอเพียงแล้วก็ปรากฎว่าผลผลิตที่เคยลดต่ำอยู่เรื่อยๆ นั้นกลับสูงขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เลยกลายเป็นความเคยชินและเข้าใจผิตของเกษตรกรว่า การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นปัจจัยเดียวในการแก้ไขดินเลวให้เป็นดินดี จึงยึดติดอยู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวติดต่อกันทุกๆ ปี จนต่อมาก็พบว่าผลผลิตที่เคยได้รับจากการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นจะค่อยๆ ลดลง บางคนก็จะต้องใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรักษาระดับผลผลิตให้สูงเท่าเดิม ข้อเท็จจริงที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้ว่า ขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินอย่างเพียงพอนั้นปัจจัยตัวอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดินดี ยกตัวอย่างเช่น สภาพทางกายภาพของดินซึ่งได้แก่ ความโปร่งร่วนซุย การระบายถ่ายเทอากาศและน้ำในดินได้เสื่อมสภาพไปกลายเป็นดินที่แข็งแน่นทึบ การระบายถ่ายเทอากาศและน้ำเลวลง ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของราก การดูดกินน้ำและธาตุอาหารจากดินโดยรากที่มีอยู่ในดินเป็นจำนวนมากก็ทำได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารของปุ๋ยที่ใส่ให้โดยเปล่าประโยชน์
ในบางกรณีสภาพทางเคมีของดินก็เสื่อมลงด้วย เช่น ดินเป็นกรดมาไปจนเป็นอุปสรรคต่อการดูดกินธาตุอาหารและน้ำของราก เพราะมีธาตุบางธาตุในดินเป็นสารพิษกับรากพืช ฯลฯ ดินแข็งและแน่นขึ้นมาก ดินเป็นกรดรุนแรงขึ้น ซึ่งจะต้องแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมก่อนหรือทำพร้อมๆ กับการใช้ปุ๋ยเคมี จึงจะทำให้การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพ สิ่งที่กล่าวมานี้ โดยทั่วไปเกษตรกรไม่ทราบ จึงไม่ได้ให้ความสำคัญเต็ที่ในการปรับปรุงสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดินร่วมไปกับการใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยเคมีจึงไม่ได้ผลเต็มที่อย่างที่เคยได้รับอีกต่อไป และรู้สึกว่าเมื่อใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานปีเข้าผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นลดลงเรื่อยๆ


2. ปัญหาปุ๋ยเคมีทำให้ดินเป็นกรด
อีกประเด็นหนึ่งที่มักจะนำมาโจมตีปุ๋ยเคมีอยู่เสมอๆ ก็คือ ปุ๋ยเคมีทำให้ดินเป็นกรด เป็นความจริงที่ว่าการใช้ปุ๋ยเคมีนานเข้าจะทำให้ดินเป็นกรดได้ แต่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ปุ๋ยเคมีทุกชนิดทำให้ดินเป็นกรด ปุ๋ยเคมีพวกที่ให้ธาตุไนโตรเจนเท่านั้นที่ทำให้ดินเป็นกรด และในกลุ่มของปุ๋ยไนโตรเจนก็มีเพียงปุ๋ยพวกแอมโมเนียม เช่น แอมโมเนียมซับเฟตและยูเรียเท่านั้นที่ทำให้ดินเป็นกรด ส่วนปุ๋ยไนโตรเจนพวกไนเตรต เช่น แคบเซียมไนเตรตไม่ทำให้ดินเป็นกรด และกลับทำให้ดินเป็นกลาง เหมาะสำหรับใช้กัยดินที่เป็นกรด เพราะจะทำให้ดินมีสภาพใกล้เป็นกลางขึ้นเรื่อยๆ สำหรับปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสเซียมไม่มีผลทำให้ดินเป็นกรดแต่อย่างใด ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีจึงไม่จำเป็นต้องทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นเสมอไป
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่เป็นพวกแอมโมเนียมและยูเรีย และรู้ว่าต่อไปนานปีเข้าดินจะเป็นกรดมากขึ้น ผู้ใช้ปุ๋ยก็สามารถแก้ไขและป้องกันได้ โดยการวัด pH ของดินอย่างสม่ำเสมอ ถ้า pH ของดินมีค่าต่ำกว่า 5.5 เกษตรกรก็จะต้องปรับสภาพความเป็นกรดของดินด้วยการใช้ปูน เช่น ปูนมาร์ล และปูนขาว ในอัตราเหมาะสมเป็นประจำทุกปี แต่ถ้า pH ของดินมีค่าสูงกว่า 5.5 สภาพความเป็นกรดของดินจะไม่เป็นในทางลบต่อการเจริญเติบโตของพืชแต่อย่างใด อีกทางเลือกหนึ่งก็คือหันมาใช้ปุ๋ยโตรเจน พวกแคลเซียมไนเตรต และโพแทสเซียมไนเตรต แทนพวกแอมโมเนียมและยูเรียก็สามารถแก้ปัญหาได้

 

ปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารพิษ
เมื่อพูดถึงปุ๋ยเคมี หลายคนยังมีความเข้าใจว่าเป็นสารเคมีเกษตรที่เป็นสารพิษ และเมื่อเอามาใช้เป็นปุ๋ยใส่ลงไปในดิน แม้จะทำให้พืชเติบโตดีและมีผลผลิตเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ในด้านโภชนาการของผลผลิตที่ได้รับจะมีสารพิษจากปุ๋ยเข้ามาสะสมอยู่ด้วย อาหารที่ผลิตเหล่านี้จึงไม่ปลอดภัยในการบริโภค อีกทั้งยังกล่าวว่าผลิตผลที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมีนั้นมีคุณภาพไม่ดี กินไม่อร่อย ด้อยคุณภาพทางด้านโภชนาการต่างๆ นานา สู้ผลิตผลที่ปลูกโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ล้วนๆ หรือที่เรียกกันว่า “เกษตรอินทรีย์” ไม่ได้ การที่มีการปลุกกระแสซึ่งไม่เป็นความจริงให้คนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงมีความเชื่อและเข้าใจดังกล่าวข้างต้นก่อให้เกิดความสับสนแก่เกษตรกรและสังคมอย่างกว้างขวาง
ปุ๋ยเคมีเป็นสารเคมีก็จริง แต่เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้เป็นคุณไม่ใช่เป็นโทษแก่ดินและผลผลิตของพืชที่ปลูก ขอยกตัวอย่างความเป็นคุณของปุ๋ยเคมีโดยย่อๆ ดังนี้ 


1. ปุ๋ยเคมีเป็นสารประกอบที่มีธาตุอาหารจำเป็นต่อพืชเป็นองค์ประกอบอยู่ในปริมาณที่เข้มข้นเมื่อเทียบ
กับปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหลาย ธาตุอาหารในปุ๋ยเคมีจะละลายน้ำง่าย เมื่อใส่ลงไปในดินจะปลดปล่อยอนุมูลของธาตุอาหารเช่น NH+4, NO-3, H2PO-4, K+ ให้ละลายอยู่ในน้ำในดินและเกาะยึดอยู่ในดินพร้อมที่จะให้รากพืชดูดกินได้ทันที การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมีจึงรวดเร็วและทันต่อจังหวะที่พืชกำลังมีความต้องการสูงสุด ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและต่อการเพิ่มผลผลิตของพืช และปุ๋ยเคมีจะใช้ได้ดีก็ต่อเมื่อดินเป็นดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ขาดธาตุอาหารต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของปุ๋ยเคมีนั้นๆ
2. ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์เมื่อใส่ลงไปในดินรากพืชจะดูดกินธาตุอาหารในปุ๋ยได้ก็ต่อเมื่อมีการปลดปล่อยอนุมูล NH+4, NO-3, H2PO-4, K+ ฯลฯ ซึ่งธาตุอาหารในดินในรูปนี้เท่านั้นที่รากพืชสามารถดูดกินได้ ดังนั้นในกรณีที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ก็จะต้องปลดปล่อยอนุมูลธาตุอาหารเหล่านั้นที่มีอยู่ในปุ๋ยให้อยู่ในรูปดังกล่าวข้างต้นให้ได้เสียก่อนเช่นกัน การปลดปล่อยอนุมูลธาตุอาหารปุ๋ยในปุ๋ยอินทรีย์จะต้องมีการย่อยสลายแปรสภาพเป็นขั้นเป็นตอนโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินเสียก่อน และแต่ละขั้นตอนก็ดำเนินไปอย่างช้าๆ ขึ้นอยู่กับความชุ่มชื้นของดิน การถ่ายเทอากาศ อุณหภูมิในดินต้องเหมาะสมเพราะเป็นกิจกรรมของสิ่งที่มีชีวิต ดับนั้น การปลดปล่อยธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่รากพืชดูดกินได้ก็จะช้า อีกทั้งปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์ที่มีการใช้แต่ละครั้งจะต้องใช้ในอัตราสูงมากเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี เช่น ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1-4 ต้น/ไร่ จึงจะเทียบเท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียง 50 กก./ไร่ 
โดยสรุป ก็คือ ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่างก็ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอยู่ในดินในรูปของเคมีเหมือนกัน รากพืชถึงจะดูดกินได้ ดังนั้นการที่กล่าวว่า ปุ๋ยเคมีปลดปล่อยสารที่เป็นพิษสะสมอยู่ในพืช ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค สู้ปุ๋ยอินทรีย์ไม่ได้ จึงไม่เป็นความจริง
3. สารประกอบในปุ๋ยเคมีเป็นสารประกอบทางเคมีทั่วๆ ไป ที่นำมาใช้เป็นสารอาหารและยารักษาโรคสำหรับคนและสัตว์ และสารประกอบทางเคมีเหล่านั้นยังถูกนำมาใช้ในการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ใช้กันอยู่เป็นประจำในบ้านเรือน เช่น ผงซักฟอก และกาวทนน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตไม้อัดและเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น กล่าวคือในผงซักฟอกจะมีสารเคมีที่เรียกว่า โซเดียมเมตาฟอสเฟต ซึ่งมีอนุมูลฟอสเฟตเช่นเดียวกับที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี ส่วนกาวทนน้ำก็จะผลิตจากยูเรีย ซึ่งเป็นปุ๋ยไนโตรเจนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย


ในแง่ของอาหารสัตว์พวกเคี้ยวเอื้อง เช่น โคและกระบือ จะใช้ยูเรียเสริมคุณภาพหญ้าเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้มีการย่อยที่ดีขึ้น และเพิ่มไนโตรเจนให้กับหญ้าอาหารสัตว์ ส่วนในด้านการเป็นยารักษาโรคก็มี เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์ละลายน้ำที่มีความเข้มข้น หมอในโรคพยาบาลจะสั่งจ่ายยาให้กับคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ เนื่องจากเลือดขาดสารอิเล็กโตรไลต์ เพื่อช่วยลดอาการหายใจหอบ และเป็นยาที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับให้กินยาเม็ดที่เรียกว่า ยาแอคดิเค ตัวยาก็คือ โพแทสเซียมอัดเป็นเม็ด
4. ปุ๋ยเคมีใช้เป็นสารส่งเสริม ควบคุมการเจริญเติบโต และเพิ่มคุณภาพของผลผลิต เช่น ทำให้พืชผักกินใบมีความเขียวสด กรอบ และมีแร่ธาตุสูงขึ้น ทำให้อ้อยที่ปลูกมีปริมาณน้ำตาลสูงขึ้น ทำให้หัวมันสำปะหลังมีปริมาณแป้งเพิ่มขึ้น ทำให้โปรตีนในหญ้าอาหารสัตว์สูงขึ้น ทำให้พืชออกดอกและให้ผลผลิตเร็วขึ้น ทำให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วสามารถเก็บเอาไว้ได้นานขึ้น ไม่เน่าเสียเร็ว ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม การใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และเคมีจะเกิดผลเสียหายต่อพืชปลูกได้ ถ้าใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้อง ใช้อย่างเดาสุ่ม ไม่สอดคล้องกับความต้องการของดินและพืชที่ปลูก ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่างก็มีข้อเด่น ข้อด้อย ผู้ใช้ต้องมีความรู้ทางวิชาการของทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์พอสมควรจึงจะสามารถใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

อ้างอิง ข้อมูลจาก ข้อเท็จจริง การใช้สารเคมีกับการพัฒนาเกษตรไทย ฉบับที่ 2 เขียนโดย ศ.ดร.สรสิทธิ์ วัชโรทยาน,ผศงดร.เนื่องพณิช สินชัยศรี,ดร.สาทร สิริสิงห์ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์




ข่าวเกษตรน่ารู้

เทคนิคการปลูกและวิธีเพาะพันธุ์ผักหวานป่า ให้เจริญงอกงาม
การปลูกไผ่ตง พืชอเนกประสงค์สารพัดประโยชน์ เป็นที่ต้องการของตลาด
วิธีปลูกมะพร้าวน้ำหอม ให้มีรสชาติหวานกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมชื่นใจ
วิธีการทำปุ๋ยชีวภาพ และ ปุ๋ยพืชสด
การเพาะปลูกและขยายพันธุ์พืช การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิธีทำ สารกำจัดศัตรูพืช น้ำส้มควันไม้ (Wood Vinegar)
วิธีทำ สมุนไพรขับไล่แมลง แบบต่างๆ
การเลี้ยงกบ เพื่อเลี้ยงชีพ และ การเตรียมบ่อพัก
6 ขั้นตอน การทำนาข้าวอินทรีย์ ปลอดสารพิษ
ขั้นตอนวิธีทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ และ การใช้ประโยชน์
ขั้นตอนการทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยตนเอง
ขั้นตอนวิธีทำ การเผาถ่านไม้ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงภายในครัวเรือน
น้ำสกัดชีวภาพ คืออะไร และการทำน้ำสกัดชีวภาพ แบบต่างๆ
งานเกษตรแฟร์ 2563 นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรไทยยั่งยืน
เกษตรกรจังหวัดพะเยา "ปลูกแตงโม" บนเนื้อที่ 13 ไร่ สร้างรายได้ปีละ 300,000
เกษตรกร จ.ราชบุรี จับกลุ่มปลูกองุ่นไร้เมล็ด เชิญชวนชิมสดจากไร่
เห็ดมิลค์กี้ พืชเศรษฐกิจใหม่ สร้างรายได้เสริม กก. ละ 1,000 บาท เพาะง่ายรายได้ดี
งานเกษตรแฟร์ 2562
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง article
งานเกษตรแฟร์ 2561 กับแนวคิดร่วมกันก้าวไป วันที่ 26 ม.ค. - 3 ก.พ article
คึกคักสุดๆ!! ชมชิมช้อป ทุเรียน มังคุด ชั้นหนึ่ง เมืองจันท์
ถั่วพู ผักพื้นบ้านปลูกง่ายสร้างรายได้งาม ดีกว่าถั่วเหลือง
ปลูกเมลอนขายในโซเชียล ขายดีจนต้องจองล่วงหน้า!
เทปน้ำหยด นวัตกรรมช่วยเหลือเกษตรกร
[อบรมฟรี] สวนเกษตรดาดฟ้าหลักสี่อบรมฟรี ปลูกผักปลอดสารพิษ
เทคนิคการปลูกพืชคลุมดิน
Review ตลับเอ็นตัดหญ้า จากการใช้งานจริง by Alcidini Winery ไร่ไวน์อัลซิดินี่
งาน Organic & Natural Expo 2015
เห็ดโต่งฝน เห็ดเศรษฐกิจตัวใหม่จากประเทศเพื่อนบ้าน
ผักบุ้งแก้ว 2 ไร่ เก็บขายได้วันละพัน article
เยี่ยมไร่เมล่อนกำแพงแสน ดูเทคนิคการผลิตเมล่อนให้หวานอร่อย
เกษตรกรเมืองโอ่งเพาะเห็ดหูหนูขาย สร้างรายได้กว่าหมื่นบาทต่อวัน article
เทคนิคการปลูกแตงไทยแบบง่ายๆ article
มะนาวนิ้วมือหรือมะนาวคาเวียร์ เปรี้ยวอย่างมีสีสันเพิ่มมูลค่าอาหารให้ดูไฮโซ article
ชมพู่ทับทิมจันท์....สวนดังของราชบุรี ชมพู่คุณภาพส่งจีน article
เยี่ยมสวนฝรั่ง..มืออาชีพที่บ้านแพ้วเงินล้านจากฝรั่งทำไม่ยาก article
กล้วยตัดใบแหล่งใหญ่ของประเทศ พื้นที่ปลูกนับ 10,000 ไร่ ก้าวไกลสู่ตลาดโลก article
ปลูกข่าเหลือง พืชเศรษฐกิจทำเงินที่น่าลงทุน ปลูกง่าย รายได้ดี 5-8 หมื่นบาท/ไร่ article
พังกาลอดฟาร์ม...พลิกฟื้นชาวสวนยาง ด้วยธุรกิจนกกระทาผลิต 80,000 ตัว/เดือน article
วิธีปลูกผักกาดหอมหรือผักสลัด พืชมากคุณประโยชน์ article
วิธีการปลูกผักบุ้งจีน ผักแคลเซียมสูง ปลูกง่ายเจริญเติบโตไว article
วิธีการปลูกผักชี ผักที่ปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง article
วิธีปลูกข้าวโพดสีม่วง ปลูกง่าย รายได้ดี article
ปลูกผักคะน้าเกษตรอินทรีย์ ขายดี ราคาดี ไม่มีคู่แข่ง article
ขนุนทวาย พันธุ์ปิยะมาดา เปลือกบางยางน้อย ให้ผลดก article
เพาะพันธุ์สับปะรดสี ใช้พื้นที่น้อย รายได้ดี ปลูกง่าย รายได้หลักหมื่น article
กุ้งก้ามแดง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ในนาข้าว กก.ละ 400-500 บาท อาชีพพลิกฟื้นฐานะของชาวนาไทย article
มาริสาฟาร์ม … ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นคุณภาพ article
การปลูกมะม่วงในวงบ่อปลูกไม่ยาก ให้ผลผลิตดี article
‘สาคู’พืชเศรษฐกิจช่องทางรวยของภาคใต้ article
เกษตรในเมือง....ปลูกผักบนดาดฟ้าอาคารสำนักงานแบบ DIY article
การปลูกพริก และประโยชน์ของพริก article
เทคนิคการปลูกมะละกอ 8ไร่ 2.5แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน article
เทคนิคการปลูกผักในร่ม ใต้โคนต้นไม้ใหญ่ article
โรคผลเน่าของแคนตาลูป article
ทำไมบางคนใช้ยาแล้วได้ผล บางคนไม่ได้ผล ทั้งที่มันเป็นยาตัวเดียวกัน ?? article
การปลูกผักหลังน้ำท่วม article
การอนุรักษ์ดินบนพื้นที่ลาดเท article
วิธีพัฒนาที่ดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง article
สับปะรดแปรรูป สามร้อยยอดเพิ่มมูลค่าสับปะรดไทย ครองแชมป์ตลาดสากล
ปลูกตะไคร้ ป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่งออกปีละไม่ต่ำกว่า 50 ตัน article
เทคนิคการขยายพันธุ์มะนาว เพิ่มปริมาณกิ่งพันธุ์สูงสุด ด้วยกิ่งติดใบเพียงใบเดียว article
เผือกหอม พืชหลังนา สร้างรายได้งามของคนบ้านหมอ สระบุรี article
ปลูกแตงกวา ระบบน้ำหยด ที่ไร่ “ศุภโชค หินเบี้ย” จ.เพชรบูรณ์ article
อะโวคาโด...พืชเศรษฐกิจนอกสายตา ตลาดต้องการสูง ราคาแพง 50-60 บาท/กก. article
พลิกดินอีสานปลูกปาล์มน้ำมัน ที่หนองบัวลำภู ของเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ article
สวนกายกานต์ ….ปลูกตะไคร้กว่า 100 ไร่ ป้อนตลาดครบวงจร ทั้งกินสด ส่งโรงงาน ส่งออก อาทิตย์ละ 10 ตัน article
เทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อ ของสวนมะนาวแป้นท้ายไร่ ที่พิจิตร article
ลูกหม่อน อีกหนึ่งพืชเพื่อสุขภาพกระแสแรง article
เห็ดแครง…เห็ดเศรษฐกิจมาแรง ราคาแพง 150-200 บาท/กก. ตลาดต้องการสูง article
แหล่งผลิตกล้วยหอมทองส่งญี่ปุ่นแห่งใหม่ พื้นที่ปลูกกว่า 100 ไร่ ในพื้นที่ปลูก 7 จังหวัด article
เกษตรกร กำแพงแสน ปลูกกระชายส่งขาย สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดปี article
มะนาวแป้นพิจิตร เน้นทำนอกฤดู ขายช่วงแพง ฟันกำไร article
ปลูกมะละกอ ส่งมะละกอป้อนตลาดวันละ 20 ตัน article
ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์100 ไร่ ผลผลิตกว่า 1,500 ตัน article
ปลูกแก้วมังกร 1,500 ไร่ สร้างรายได้มหาศาล
เยี่ยมสวนมะกรูด ผลิตใบมะกรูดคุณภาพป้อนตลาดส่งนอก
หน่อไม้ฝรั่งส่งญี่ปุ่น ทำเงินสะพัด พลิกฐานะชั่วข้ามปี article
กุยช่าย พืชทำเงินของคนเมืองโอ่ง
ต้นเหตุของดินเสื่อม article
ปลูกหญ้าแฝก พืชมหัศจรรย์ ช่วยรักษาหน้าดินและสิ่งแวดล้อม article
จะลงทุนภาคการเกษตรอย่างไร ? ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC article
ราคาผัก ผลไม้กำหนดจากอะไร…ทำไมราคาจากสวนจึงต่างจากราคาตลาดมาก article
มาริสสาฟาร์ม … ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นคุณภาพ article
เทคนิคผลิตเมล่อนเกรดพรีเมี่ยม ส่งแม็คโครสัปดาห์ละ 2 ตัน article
เยี่ยมสวนมะพร้าวน้ำหอมส่งนอก 60 ไร่ สร้างอาชีพยั่งยืนนานกว่า 20 ปี article
ปลูกแตงกวาไร่เดียว ฟันเงินกว่า 70,000 ลงทุนแค่ 13,000 article
ปลูกดอกสลิดสร้างรายได้ช่วงหน้าหนาวราคาพุ่ง กก. 120-130 บาท article
เทคนิคเพาะเห็ดนางฟ้าขายช่วงราคาแพง จากสมบูรณ์ฟาร์ม จ.ขอนแก่น article
มันสำปะหลัง ระบบน้ำหยด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต article
โกลบอล ออร์แกนิคส์ ส่งมะละกอป้อนห้างวันละกว่า 10 ตัน article
ธ.ก.ส ปล่อยกู้ 10,000 ล้านบาท ช่วยเกษตรกรแก้หนี้นอกระบบ article
พริกไทย..พืชเศรษฐกิจใหม่สร้างรายได้นับล้าน ที่สุโขทัย article
วิเคราะห์ตลาดมะละกอสุกก่อนลงทุน article
มาตรการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ article
เยือนแหล่งปลูกกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่ นับ 1,000 ไร่ article
ขนุน...พืชทำเงินของชาว จ.ระยอง ส่งออกต่างประเทศ article
มารู้จักกับโรคทางดิน(โรคเหี่ยว โรคเน่า) กันค่ะ article



Copyright 2020 S.P. HARDWARE IMPORT EXPORT Co.,Ltd. All rights reserved.