เห็ดโคนน้อย เห็ดอร่อย ทำเงินงามของชาวเหนือ
ReadyPlanet.com
dot
bulletโปรโมชั่น
bulletเข้าสู่ระบบ
bulletสมัครสมาชิก
การรับประกันสินค้า
dot
ตระกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot
ค้นหาสินค้า

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า

  [Help]
dot
dot
อีเมล์

dot
หมวดสินค้า
เครื่องยนต์อเนกประสงค์
เครื่องตัดหญ้า
เครื่องพ่นยา
เครื่องปั่นไฟ
ปั๊มน้ำ เครื่องสูบน้ำ
เครื่องตัดแต่งกิ่งไม้
เครื่องเจาะดิน
เครื่องมือฮาร์ดแวร์
แม่แรงยกรถ
เอ็นตัดหญ้า กระปุกเอ็นตัดหญ้า
สินค้าอื่นๆ
line id @vigotech
แจ้งชำระเงิน
โปรโมชั่นประจำเดือน
clinton
กิจกรรมของบริษัท
วีดีโอการใช้งาน
รีวิวสินค้าจากลูกค้า
ข่าวเกี่ยวกับเกษตรกรรม
ขนส่งเคอรี่ kerry
bulletเงื่อนไขการรับประกันสินค้า
คู่มือการใช้งานเครื่องพ่นยาสะพายหลังแบตเตอรี่และมือโยก


เครื่องมือการเกษตรและอุปกรณ์การเกษตร


เห็ดโคนน้อย เห็ดอร่อย ทำเงินงามของชาวเหนือ
 

ช่วยกดแชร์ด้วยนะคะ

 

เห็ดโคนน้อย เห็ดอร่อย ทำเงินงามของชาวเหนือ

เมื่อเอ่ยถึง เห็ดโคนน้อย ... หลายคนคงจะเคยได้ยินหรือรู้จักกันบ้าง อาจจะไม่แพร่หลายนัก แต่นับจากวันนี้เชื่อว่า เห็ดโคนน้อยจะทำให้คุณสนใจและชื่นชอบเห็ดชนิดนี้ขึ้นมาอีกมากมายอย่างแน่นอน เห็ดโคนน้อยเป็นคนละชนิดกับเห็ดโคนตามธรรมชาติหรือเห็ดปลวก การเรียกชื่อเห็ดโคนน้อย ก็จะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่างๆ เพราะเห็ดชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นและกระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วทุกภาค อย่างทางภาคเหนือจะเรียกว่า เห็ดถั่วเน่า เห็ดโคนน้อย เห็ดโคนบ้าน เห็ดโคนขาว ส่วนภาคอีสาน เรียก เห็ดคราม เห็ดปลวกน้อย และภาคกลางเรียก เห็ดโคนเพาะ เห็ดโคนน้อย เห็ดหมึก เห็ดชนิดนี้มีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังพบว่ามีสรรพคุณทางสมุนไพร ช่วยในการย่อยอาหารและลดเสมหะ แล้วสามารถนำไปปรุงอาหารได้อีกหลายประเภทอีกด้วย

คุณสราวุธ ปากวิเศษ หรือคุณเอ๋ เป็นอีกคนหนึ่งที่ให้ความสนใจแห็ดโคนน้อยเป็นอาชีพและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยก่อนหน้านี้ที่จะมาเพาะเห็ดโคนน้อยนั้นคุณสราวุธบอกว่า มีความสนใจในการเพาะเห็ดหลายชนิด เริ่มจากการเพาะเห็ดนางฟ้าก่อน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเพาะเห็ดโคนน้อยเมื่อมองเห็นความน่าสนใจและศักยภาพที่มากกว่า เพราะเห็ดโคนน้อยเป็นเห็ดที่สามารถทำเงินได้เร็ว ต้นทุนน้อย แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมากและไม่ยุ่งยากเหมือนทำอย่างอื่น 

คุณเอ๋ได้ไปศึกษาดูงานจากสวนและฟาร์มเห็ดต่างๆ ก่อนเพื่อให้มีความรู้ก่อนจะสตาร์ทเครื่องเดินหน้าได้อย่างมีทิศทางที่ถูกต้องมากขึ้น ดีกว่าเรียนรู้เองด้วยการเริ่มจากศูนย์เพราะนั่นหมายถึงเวลาและเงินทุนที่ต้องเสียไปกับการแลกความรู้และประสบการณ์ เมื่อได้ความรู้มาระดับหนึ่งก็นำมาใช้และพัฒนาด้วยตัวเองเพิ่มเติม แม้ในช่วงแรกๆที่ทำจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่คุณเอ๋ก็ไม่ท้อถอยแม้จะท้อแท้บ้างแต่สุดท้ายก็ลุกขึ้นมาเดินหน้าลุยต่อเพื่อก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆให้ได้ ปัจจุบันก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปมากแล้ว แต่ก็ยังมีส่วนที่ต้องมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆให้ศึกษากันต่อไป 

 


คุณเอ๋เล่าถึงวิธีการเพาะเห็ดโคนน้อยว่า การเพาะเห็ดโคนน้อยจะทำคล้ายกับการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย โดยวัสดุเพาะเห็ดโคนน้อยสามารถใช้วัสดุเพาะที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ต้นและใบถั่วต่างๆ ต้นข้าวโพด ทะลายปาล์มน้ำมัน ผักตบชวา ต้นและใบกล้วยสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะได้ทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ส่วนที่ฟาร์มของคุณเอ๋นั้นจะใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุเพาะ โดยนำฟางที่จะมาทำวัสดุเพาะไปต้มก่อน ในถังที่ใช้ต้มจะมีกากน้ำตาล+ปุ๋ยยูเรีย ในถัง 200 ลิตรใส่ฟางต้มลงไป 3-4 มัด แช่ทิ้งไว้ 3-5 นาที แล้วยกขึ้นมาผึ่งทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 1 คืน 
จากนั้นมาเตรียมเชื้อเห็ด โดยเริ่มจากนำเชื้อเห็ดมายีให้ละเอียด นำฟางที่ต้มแล้วมาวางลงในไม้แบบหรือกระบะไม้ ขนาดของไม้แบบหรือกระบะไม้ 60x25x30 ซม. แล้วโรยเชื้อเห็ดให้เต็มพื้นที่บนฟางชั้นที่ 1 ให้กระจายไปทั่วทั้งฟาง แล้วนำฟางที่ต้มแล้ว 1 กำมือมาโป๊ะลงในชั้นที่ 2 จากนั้นก็โรยเชื้อให้ทั่วแผ่นฟางชั้นที่ 2 ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงชั้นที่ 5 แล้วใช้เชือกหรือตอกมัดก้อนฟางให้แน่น 

 

จากนั้นนำเห็ดเข้าโรงเรือน โรงเรือนก็จะมี 2 ลักษณะ ถ้าเป็นพื้นดินธรรมดาก็จะไม่ต้องรดน้ำบ่อยแต่ก็จะเกิดปัญหาแมลงอาจมุดลงไปอยู่ในพื้นดินได้ ส่วนพื้นปูนซีเมนต์ต้องรดน้ำค่อนข้างบ่อยเช้าเย็น แต่ก็ดูแลง่ายป้องกันการแพร่เชื้อของไรได้ดี โดยที่ไรจะไม่สามารถอาศัยอยู่ตามพื้นซีเมนต์ได้เหมือนพื้นดินธรรมดา ภายในโรงเรือนจะมีชั้นไม้ไผ่วางเรียงกันเป็นแถวๆละ 3 ชั้นมีทั้งหมด 4 แถว นำก้อนฟางที่ได้มาวางไว้บนชั้นๆละ 6 ก้อน วันแรกจะรดน้ำที่พื้นก่อน จากนั้นก็ปล่อยทิ้งไว้ 3 วัน ในวันที่ 4 จะเห็นเชื้อเห็ดเริ่มเดิน ซึ่งก็จะมีใยขาวๆออกมาให้เห็น รดน้ำวันละครั้ง ทำอย่างนี้ไปจนถึงวันที่ 9 จะเห็นดอกเห็ดเล็กๆเริ่มออกมา

ในวันที่ 10 ก็จะสามารถเก็บดอกเห็ดขายได้ คุณเอ๋ บอกว่า เคยใช้ฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเห็ด ปรากฏว่า เห็ดออกดอกพร้อมกันพรึ่บเพียงวันเดียว วันต่อมาดอกออกน้อยลงมาก จึงเลิกใช้ ด้วยเห็นว่าให้เห็ดออกตามธรรมชาติจะดีกว่า เห็ดจะใช้เวลาเก็บประมาณ 10 วันก็จะหมด โดยดอกเห็ดจะมากในช่วง 1-3 วันแรก หลังจาก 3 วันไปแล้วผลผลิตก็จะเริ่มทยอยลดน้อยลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียง 30% ของผลผลิตทั้งหมด ในวันที่ 10 หลังวันที่ 10 ไปแล้วก็จะโล๊ะก้อนเชื้อเห็ดทิ้งแล้ว แล้วทำความสะอาดโรงเรือน โดยใช้ผงซักฟอกล้างบริเวณชั้นไม้ไผ่ให้สะอาด พักตากโรงเรือนทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ ก็จะนำก้อนเช็ดชุดใหม่เข้าไปได้
ที่ฟาร์มจะมีโรงเรือนเพาะทั้งหมด 3 โรงเรือนๆ บรรจุก้อนฟางได้โรงเรือนละ 80 ก้อน ในการเปิดดอกเห็ดจะทยอยเปิดห่างกันโรงเรือนละ 3 วัน เห็ด 1 ก้อนจะให้ผลผลิต 1 กก.ตลอดอายุการเก็บเกี่ยว เก็บทุกวันๆละ 5 กก. คุณเอ๋ บอกว่า เห็ดเป็นพืชเกษตรที่มีข้อดีตรงที่ดูแลง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาโรค-แมลงมารบกวนจะมีบ้างก็แต่ไร ซึ่งก็จะมาในช่วงที่เก็บดอกได้ในวันที่ 8-9 แล้ว แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร อย่างน้อยก็แค่เป็นการรบกวนในตอนเก็บที่แมลงจะมาไต่มือให้รำคาญก็เท่านั้นเอง 

ฟาร์มเห็ดของคุณเอ๋ทำเอง เก็บเอง ขายเอง โดยจะมีแม่ค้าโทรมาสั่งจองก่อนล่วงหน้า ราคาขายหน้าฟาร์ม 100 บาทต่อกก. ถ้าไปขายเองราคาสูงขึ้นเป็น 120 บาทต่อกก. บางพื้นที่ขายราคาแพงกว่านี้ อย่างตลาดภาคอีสานขายกัน 180 บาทต่อกก.เลยทีเดียว ส่วนที่นำไปขายเองก็จะมีแบบแบ่งขายปลีกโดยบรรจุใส่ถุงๆ ละ 2 ขีดบ้าง ครึ่งกิโลกรัมบ้าง หนึ่งกิโลกรัมบ้าง คุณเอ๋ บอกว่า เก็บทุกวันขายหมดทุกวันไม่มีเหลือ 
เมื่อถามถึงการลงทุนคุณเอ๋บอกว่า ขึ้นอยู่กับจำนวนก้อนขนาดของโรงเรือน ที่ฟาร์มมีโรงเรือนพื้นดินขนาด 3x3 เมตร ลงทุนค่าโรงเรือนประมาณ 4,000 บาท ส่วนโรงเรือนที่เป็นพื้นซีเมนต์ลงทุน 15,000 บาท บรรจุได้ 60 ก้อน แต่เก็บเห็ดช่วง 1-3 วันแรกก็คืนทุนแล้ว วันต่อมาก็เป็นกำไร ถ้าจะทำเป็นอาชีพควรจะทำ 3 โรงเรือนขึ้นไปถึงจะดีมีรายได้หมุนเวียนตลอด และควรจะหาโรงเก็บฟางไว้เพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะได้ตลอดทั้งปี ฟางต้องไม่โดนฝนเพราะจะทำให้เกิดเชื้อราได้ คุณเอ๋มีโรงเรือนเก็บฟางไว้ใช้ได้นานครึ่งปีหรือประมาณ 6 เดือน จากนั้นก็จะซื้อฟางเข้ามาเก็บใหม่ไว้ใช้ต่ออีกครึ่งปี ไม่ต้องหาฟางทุกเดือนเพราะถ้าหาฟางไม่ได้ก็จะไม่มีวัสดุเพาะ
ข้อมูลเพิ่มเติม คุณสราวุธ ปากวิเศษ 11 ม.3 ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม เชียงใหม่ โทร. 082 030 7644

ติดตามความรู้ด้านการเกษตรดีๆได้ที่ กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ cr.Rakkaset Nungruethail 

 

 

ช่วยกดแชร์ด้วยนะคะ




ข่าวเกษตรน่ารู้

เทคนิคการปลูกและวิธีเพาะพันธุ์ผักหวานป่า ให้เจริญงอกงาม
การปลูกไผ่ตง พืชอเนกประสงค์สารพัดประโยชน์ เป็นที่ต้องการของตลาด
วิธีปลูกมะพร้าวน้ำหอม ให้มีรสชาติหวานกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมชื่นใจ
วิธีการทำปุ๋ยชีวภาพ และ ปุ๋ยพืชสด
การเพาะปลูกและขยายพันธุ์พืช การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิธีทำ สารกำจัดศัตรูพืช น้ำส้มควันไม้ (Wood Vinegar)
วิธีทำ สมุนไพรขับไล่แมลง แบบต่างๆ
การเลี้ยงกบ เพื่อเลี้ยงชีพ และ การเตรียมบ่อพัก
6 ขั้นตอน การทำนาข้าวอินทรีย์ ปลอดสารพิษ
ขั้นตอนวิธีทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ และ การใช้ประโยชน์
ขั้นตอนการทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยตนเอง
ขั้นตอนวิธีทำ การเผาถ่านไม้ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงภายในครัวเรือน
น้ำสกัดชีวภาพ คืออะไร และการทำน้ำสกัดชีวภาพ แบบต่างๆ
งานเกษตรแฟร์ 2563 นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรไทยยั่งยืน
เกษตรกรจังหวัดพะเยา "ปลูกแตงโม" บนเนื้อที่ 13 ไร่ สร้างรายได้ปีละ 300,000
เกษตรกร จ.ราชบุรี จับกลุ่มปลูกองุ่นไร้เมล็ด เชิญชวนชิมสดจากไร่
เห็ดมิลค์กี้ พืชเศรษฐกิจใหม่ สร้างรายได้เสริม กก. ละ 1,000 บาท เพาะง่ายรายได้ดี
งานเกษตรแฟร์ 2562
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง article
งานเกษตรแฟร์ 2561 กับแนวคิดร่วมกันก้าวไป วันที่ 26 ม.ค. - 3 ก.พ article
คึกคักสุดๆ!! ชมชิมช้อป ทุเรียน มังคุด ชั้นหนึ่ง เมืองจันท์
ถั่วพู ผักพื้นบ้านปลูกง่ายสร้างรายได้งาม ดีกว่าถั่วเหลือง
ปลูกเมลอนขายในโซเชียล ขายดีจนต้องจองล่วงหน้า!
เทปน้ำหยด นวัตกรรมช่วยเหลือเกษตรกร
[อบรมฟรี] สวนเกษตรดาดฟ้าหลักสี่อบรมฟรี ปลูกผักปลอดสารพิษ
เทคนิคการปลูกพืชคลุมดิน
Review ตลับเอ็นตัดหญ้า จากการใช้งานจริง by Alcidini Winery ไร่ไวน์อัลซิดินี่
งาน Organic & Natural Expo 2015
เห็ดโต่งฝน เห็ดเศรษฐกิจตัวใหม่จากประเทศเพื่อนบ้าน
ผักบุ้งแก้ว 2 ไร่ เก็บขายได้วันละพัน article
เยี่ยมไร่เมล่อนกำแพงแสน ดูเทคนิคการผลิตเมล่อนให้หวานอร่อย
เกษตรกรเมืองโอ่งเพาะเห็ดหูหนูขาย สร้างรายได้กว่าหมื่นบาทต่อวัน article
เทคนิคการปลูกแตงไทยแบบง่ายๆ article
มะนาวนิ้วมือหรือมะนาวคาเวียร์ เปรี้ยวอย่างมีสีสันเพิ่มมูลค่าอาหารให้ดูไฮโซ article
ชมพู่ทับทิมจันท์....สวนดังของราชบุรี ชมพู่คุณภาพส่งจีน article
เยี่ยมสวนฝรั่ง..มืออาชีพที่บ้านแพ้วเงินล้านจากฝรั่งทำไม่ยาก article
กล้วยตัดใบแหล่งใหญ่ของประเทศ พื้นที่ปลูกนับ 10,000 ไร่ ก้าวไกลสู่ตลาดโลก article
ปลูกข่าเหลือง พืชเศรษฐกิจทำเงินที่น่าลงทุน ปลูกง่าย รายได้ดี 5-8 หมื่นบาท/ไร่ article
พังกาลอดฟาร์ม...พลิกฟื้นชาวสวนยาง ด้วยธุรกิจนกกระทาผลิต 80,000 ตัว/เดือน article
วิธีปลูกผักกาดหอมหรือผักสลัด พืชมากคุณประโยชน์ article
วิธีการปลูกผักบุ้งจีน ผักแคลเซียมสูง ปลูกง่ายเจริญเติบโตไว article
วิธีการปลูกผักชี ผักที่ปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง article
วิธีปลูกข้าวโพดสีม่วง ปลูกง่าย รายได้ดี article
ปลูกผักคะน้าเกษตรอินทรีย์ ขายดี ราคาดี ไม่มีคู่แข่ง article
ขนุนทวาย พันธุ์ปิยะมาดา เปลือกบางยางน้อย ให้ผลดก article
เพาะพันธุ์สับปะรดสี ใช้พื้นที่น้อย รายได้ดี ปลูกง่าย รายได้หลักหมื่น article
กุ้งก้ามแดง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ในนาข้าว กก.ละ 400-500 บาท อาชีพพลิกฟื้นฐานะของชาวนาไทย article
มาริสาฟาร์ม … ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นคุณภาพ article
การปลูกมะม่วงในวงบ่อปลูกไม่ยาก ให้ผลผลิตดี article
‘สาคู’พืชเศรษฐกิจช่องทางรวยของภาคใต้ article
เกษตรในเมือง....ปลูกผักบนดาดฟ้าอาคารสำนักงานแบบ DIY article
การปลูกพริก และประโยชน์ของพริก article
เทคนิคการปลูกมะละกอ 8ไร่ 2.5แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน article
เทคนิคการปลูกผักในร่ม ใต้โคนต้นไม้ใหญ่ article
โรคผลเน่าของแคนตาลูป article
ทำไมบางคนใช้ยาแล้วได้ผล บางคนไม่ได้ผล ทั้งที่มันเป็นยาตัวเดียวกัน ?? article
การปลูกผักหลังน้ำท่วม article
การอนุรักษ์ดินบนพื้นที่ลาดเท article
วิธีพัฒนาที่ดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง article
สับปะรดแปรรูป สามร้อยยอดเพิ่มมูลค่าสับปะรดไทย ครองแชมป์ตลาดสากล
ปลูกตะไคร้ ป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่งออกปีละไม่ต่ำกว่า 50 ตัน article
เทคนิคการขยายพันธุ์มะนาว เพิ่มปริมาณกิ่งพันธุ์สูงสุด ด้วยกิ่งติดใบเพียงใบเดียว article
เผือกหอม พืชหลังนา สร้างรายได้งามของคนบ้านหมอ สระบุรี article
ปลูกแตงกวา ระบบน้ำหยด ที่ไร่ “ศุภโชค หินเบี้ย” จ.เพชรบูรณ์ article
อะโวคาโด...พืชเศรษฐกิจนอกสายตา ตลาดต้องการสูง ราคาแพง 50-60 บาท/กก. article
พลิกดินอีสานปลูกปาล์มน้ำมัน ที่หนองบัวลำภู ของเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ article
สวนกายกานต์ ….ปลูกตะไคร้กว่า 100 ไร่ ป้อนตลาดครบวงจร ทั้งกินสด ส่งโรงงาน ส่งออก อาทิตย์ละ 10 ตัน article
เทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อ ของสวนมะนาวแป้นท้ายไร่ ที่พิจิตร article
ลูกหม่อน อีกหนึ่งพืชเพื่อสุขภาพกระแสแรง article
เห็ดแครง…เห็ดเศรษฐกิจมาแรง ราคาแพง 150-200 บาท/กก. ตลาดต้องการสูง article
แหล่งผลิตกล้วยหอมทองส่งญี่ปุ่นแห่งใหม่ พื้นที่ปลูกกว่า 100 ไร่ ในพื้นที่ปลูก 7 จังหวัด article
เกษตรกร กำแพงแสน ปลูกกระชายส่งขาย สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดปี article
มะนาวแป้นพิจิตร เน้นทำนอกฤดู ขายช่วงแพง ฟันกำไร article
ปลูกมะละกอ ส่งมะละกอป้อนตลาดวันละ 20 ตัน article
ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์100 ไร่ ผลผลิตกว่า 1,500 ตัน article
ปลูกแก้วมังกร 1,500 ไร่ สร้างรายได้มหาศาล
เยี่ยมสวนมะกรูด ผลิตใบมะกรูดคุณภาพป้อนตลาดส่งนอก
หน่อไม้ฝรั่งส่งญี่ปุ่น ทำเงินสะพัด พลิกฐานะชั่วข้ามปี article
กุยช่าย พืชทำเงินของคนเมืองโอ่ง
ต้นเหตุของดินเสื่อม article
ปลูกหญ้าแฝก พืชมหัศจรรย์ ช่วยรักษาหน้าดินและสิ่งแวดล้อม article
จะลงทุนภาคการเกษตรอย่างไร ? ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC article
ราคาผัก ผลไม้กำหนดจากอะไร…ทำไมราคาจากสวนจึงต่างจากราคาตลาดมาก article
มาริสสาฟาร์ม … ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นคุณภาพ article
เทคนิคผลิตเมล่อนเกรดพรีเมี่ยม ส่งแม็คโครสัปดาห์ละ 2 ตัน article
เยี่ยมสวนมะพร้าวน้ำหอมส่งนอก 60 ไร่ สร้างอาชีพยั่งยืนนานกว่า 20 ปี article
ปลูกแตงกวาไร่เดียว ฟันเงินกว่า 70,000 ลงทุนแค่ 13,000 article
ปลูกดอกสลิดสร้างรายได้ช่วงหน้าหนาวราคาพุ่ง กก. 120-130 บาท article
เทคนิคเพาะเห็ดนางฟ้าขายช่วงราคาแพง จากสมบูรณ์ฟาร์ม จ.ขอนแก่น article
มันสำปะหลัง ระบบน้ำหยด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต article
โกลบอล ออร์แกนิคส์ ส่งมะละกอป้อนห้างวันละกว่า 10 ตัน article
ธ.ก.ส ปล่อยกู้ 10,000 ล้านบาท ช่วยเกษตรกรแก้หนี้นอกระบบ article
พริกไทย..พืชเศรษฐกิจใหม่สร้างรายได้นับล้าน ที่สุโขทัย article
วิเคราะห์ตลาดมะละกอสุกก่อนลงทุน article
มาตรการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ article
เยือนแหล่งปลูกกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่ นับ 1,000 ไร่ article
ขนุน...พืชทำเงินของชาว จ.ระยอง ส่งออกต่างประเทศ article
มารู้จักกับโรคทางดิน(โรคเหี่ยว โรคเน่า) กันค่ะ article



Copyright 2020 S.P. HARDWARE IMPORT EXPORT Co.,Ltd. All rights reserved.